PA Take Care

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา เกิดเหตุมาต้องนอนพักรักษา อาจทำให้ขาดรายได้ ให้ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care จากเมืองไทยประกันชีวิตช่วยดูแล ดูแลรายได้ไม่ให้สะดุด แม้ต้องหยุดงาน ด้วยผลประโยชน์เงินชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลฐานะผู้ป่วยในเนื่องจากอุบัติเหตุ หากต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) รับผลประโยชน์เงินชดเชยรายได้เพิ่มเป็น 2 เท่า ดูแลคนข้างหลัง หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ด้วยผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด 1,000,000 บาท กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ช่วยเพิ่มความอุ่นใจเตรียมไว้ในวันที่ไม่อยู่

นอกจากนี้ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล อย่าง PA Take Care ยังคุ้มครองอุบัติเหตุ ทุกที่ทั่วโลก 24 ชั่วโมง
ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาประกันอุบัติเหตุ และไม่รู้ว่าจะซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่ไหนดี หรือ แบบไหนดี
ประกันตัวนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์

ช่วงอายุผู้ขอเอาประกันภัย
– อายุ 30 วัน – 75 ปี

ระยะเวลาคุ้มครอง
– คุ้มครองปีต่อปี

ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย
– จ่ายเบี้ยปีต่อปี

การตรวจสุขภาพ
– ไม่ต้องตรวจสุขภาพ

จุดเด่น PA Take Care
– ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
– มีเงินชดเชยรายได้ เมื่อนอนโรงพยาบาล จากอุบัติเหตุ
– คุ้มครองทั่วโลก 24 ชม.

หมายเหตุ

(1) ในกรณีที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลให้เป็น 2 เท่าของผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ไม่เกิน 7 วัน อย่างไรก็ตามบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมกันสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง
(2) สำหรับแผนความคุ้มครองแผน 4
(3) อาณาเขตการคุ้มครอง:ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วโลก เป็นระยะเวลา 1 ปี
(4) ผลประโยชน์การสูญเสียอวัยวะ และอื่นๆ ซึ่งได้แก่ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง เป็นไปตาม อัตราส่วนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

• เบี้ยประกันภัยที่แสดงนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ขั้นอาชีพของแต่ละบุคคล ประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบริษัทฯ เป็นต้น โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน เงื่อนไขเป็นไปตามที่ระบุในเล่มกรมธรรม์
• เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้บางส่วน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
• การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

คำถามที่พบบ่อย

Q: ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care เหมาะกับใคร
A: เหมาะกับหัวหน้าครอบครัว เพื่อเป็นหลักประกันให้คนข้างหลัง หรือผู้ที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุอยู่แล้ว แต่ยังต้องการผลประโยชน์เงินชดเชยรายได้กรณีนอนรักษาในโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ เพื่อให้ไม่ขาดรายได้ หากต้องหยุดงาน

Q: ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์หรือไม่
A: ให้ความคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร จากการขับขี่หรือโดยสารจักรยานยนต์เท่านั้น สำหรับความคุ้มครองการชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลฐานะผู้ป่วยในเนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์

Q: ลักษณะอาชีพมีผลกับการพิจารณารับประกันของการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care หรือไม่
A: ลักษณะอาชีพมีผลกับการพิจารณารับประกันของการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care โดยบริษัทฯ จะรับประกันภัยเฉพาะผู้เอาประกันภัยที่อยู่ในกลุ่มอาชีพ 1, 2 และ 3 เท่านั้น โดย

– ชั้นอาชีพ 1 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านบริการ หรือการจัดการ งานเสมียน หรืองานขาย ในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน และรวมถึงการทำงานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักร ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับต่ำ
– ชั้นอาชีพ 2 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการ หรือพนักงานในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งทำงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว หรือเป็นผู้ปฏิบัติทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพเฉพาะหรือกึ่งอาชีพเฉพาะ และบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งเกือบตลอดเวลา ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับปานกลาง
– ชั้นอาชีพ 3 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหรือเป็นผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทางหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง

ทั้งนี้บริษัทฯ จะไม่พิจารณารับรับประกัน สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง เช่น คนเช็ดกระจก(ที่สูง) นักมวยอาชีพ นักมวยปล้ำ ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับรถบรรทุกสิบล้อ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง นักแสดงกายกรรม ผู้แสดงแทน(ผาดโผน) จ๊อกกี้ เทรนเนอร์ม้า และคนเลี้ยงม้า ผู้ฝึกสัตว์ นักประดาน้ำ คนงานประจำสวนป่า ป่าไม้(อยู่ในป่า) ตำรวจ และทหาร(ที่ปฏิบัติงานภาคสนาม) เป็นต้น

Q: การสมัครทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลต้องตรวจสุขภาพหรือไม่
A: ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ผู้ทำประกันต้องแถลงข้อมูลสุขภาพตามจริงให้บริษัททราบในใบคำขอเอาประกันภัย ทั้งนี้การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

Q: ถ้าทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบนี้แล้ว จะยังสามารถซื้อสัญญาอื่นเพิ่มเติมได้หรือไม่
A: ไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ได้

Q: แบบประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลนี้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
A: สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้บางส่วน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 383

Q: ควรซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่ไหนดี หรือ แบบไหนดี
A: ประกันอุบัติเหตุมีอยู่หลากหลายทางเลือก หนึ่งในนั้นคือประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care จากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ให้ความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ทั้งเงินชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลฐานะผู้ป่วยในเนื่องจากอุบัติเหตุ พร้อมรับความคุ้มครองเพิ่ม 2 เท่า หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ เช่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในรถไฟลอยฟ้า, รถไฟฟ้าใต้ดิน, ในลิฟต์, ห้างสรรพสินค้าและโรงภาพยนต์ เป็นต้น

ข้อยกเว้นความคุ้มครอง ของการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care

ข้อยกเว้นความคุ้มครอง ของการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care มีทั้งหมด 20 ข้อ
เช่น ไม่คุ้มครองความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆอันเกิดจาก หรือสืบเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การกระทำของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษจนไม่สามารถครองสติได้ คำว่า “ขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา” ในกรณีที่มีการตรวจเลือดให้ถือเกณฑ์มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
2. การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
3. การปวดหลัง อันมีสาเหตุมาจาก หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Disc Herniation) กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc disease) กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) และภาวะที่มีรอยแตก (Defect) หรือพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังส่วน Pars interarticularis (Spondylolysis) เว้นแต่มีการแตกหัก (Fracture) หรือเคลื่อน (Dislocation) ของกระดูกสันหลังอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ
4. สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะได้มีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฎ การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวาย การปฏิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก หรือเหตุการณ์ใดๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก
5. การก่อการร้าย เป็นต้น

Scroll to Top