ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา 2566

อัพเดตล่าสุด! รายการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา 2566 ยื่นได้ถึงเมื่อไหร่

ย่อหน้าแรก เข้าสู่ช่วงปลายปี 2566 ใครเตรียมตัววางแผนภาษี มามุงกันทางนี้ เพราะเป็นที่ทราบกันดี สำหรับคนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ประเภทอื่นตั้งแต่ 60,000 บาทต่อปี ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งวันนี้เรามัดรวมข้อมูลอัพเดตล่าสุดให้ครบจบ ๆ ในที่เดียวสำหรับ รายการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาปี 2566 จะมีอะไรบ้าง และต้องยื่นที่ไหนตามมาดูกัน

ประกันสุขภาพแบบ Deductible

สรุปรายการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2566
ค่าลดหย่อนภาษี 2566 บุคคลธรรมดา เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญสำหรับผู้มีรายได้ในการจัดการกับภาษี หรือช่วยให้ได้รับเงินคืนภาษีเพิ่มขึ้น หากเรามีการวางแผนค่าลดหย่อนภาษีที่จากรายการลดหย่อนภาษีดังต่อไป

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
   • ค่าลดหย่อนส่วนตัว : จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไข
   • ค่าลดหย่อนคู่สมรส : จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องถามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้
   • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร : ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษี ในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารหลักฐานที่ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
   • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร : คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
   • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส : จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน
   • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ : จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
   • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ : ลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา
ได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนค่าเบี้ยประกันของคู่สมรสได้สูงสุด 10,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
   • เบี้ยประกันสุขภาพ : และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
   • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา : ลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
   • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ : สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
   • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. /กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน : สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
   • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท
   • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) : ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 30,000 บาท
   • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) : นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
   • เงินบริจาคทั่วไป : ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
   • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา : การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
• เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง : นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป

ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
• โครงการช้อปดีมีคืน 2566 : สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566
• ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย : เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร เป็นต้น สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ประกันสุขภาพแบบ Deductible

เตรียมตัวยื่นลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา ออนไลน์

สามารถยื่นลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้ด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือหากไม่สะดวกเดินทางก็สามารถยื่นผ่านออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากรยื่นแบบออนไลน์ ได้ที่ efiling.rd.go.th กดเลือก “ยื่นแบบออนไลน์” ซึ่งจะเข้ามายื่นได้ถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 นี้เท่านั้น จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากกรมสรรพากร

และก่อนยื่นภาษีทุกครั้งควรเตรียมเอกสารทั้งหมดให้พร้อม ได้แก่ เอกสารการขอลดหย่อนภาษีดังนี้
   • เลขประจำตัวประชาชนของบุคคลที่จะนำมาใส่ในรายการลดหย่อน
   • หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัย
   • ใบทวิ 50
   • ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากการซื้อขายสินค้าในโครงการช้อปดีมีคืน
   • ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จ ค่าคลอด ค่าฝากครรภ์
   • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งหากเตรียมเอกสารพร้อมแล้วก็สามารถดู 5 ขั้นตอน วิธียื่นภาษีออนไลน์ ได้เลย

ใกล้สิ้นปีแบบนี้อย่าลืมเตรียมตัววางแผนลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา ประจำปีภาษี 2566 กันด้วย เพื่อป้องกันการถูกเรียกเก็บเงินภาษีย้อนหลัง และให้คุณได้วางแผนทางด้านการเงินของตัวเอง สามารถใช้สิทธิต่าง ๆ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้อย่างเต็มที่ รวมถึงในบางรายลดหย่อน อย่างเช่นประกันสุขภาพ คุณจะได้ทั้งความคุ้มครองสุขภาพ และยังสามารถนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษี 2566 บุคคลธรรมดา ได้สูงสุด 25,000 บาท

เลือกทำประกันสุขภาพที่ดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี

Scroll to Top